ตามรอยพระแม่เจ้าจามเทวี
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555
ประวัติเจ้าพ่อ ติ๊บปาละ ทหารเอกเจ้าพ่อทิพย์ช้าง
ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๒๗๒ – ๒๒๗๕ บ้านเมืองในบริเวณแผ่นดินล้านนา คือ ภาคเหนือตอนบน อยู่ใต้การปกครองของพม่า ระยะนั้นตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย มีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระครองราชย์( พ.ศ. ๒๒๕๑ -๒๒๗๕) เมืองเชียงแสน เชียงราย นครลำปาง นครแพร่ นครน่าน นครเชียงใหม่ ต่างตั้งตัวเป็นอิสระไม่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเกิดการจลาจล รบพุ่งกันไปทั่วทุกแห่งหน นครเชียงใหม่มีเจ้าองค์ดำเป็นเจ้าผู้ครองนคร และกำลังรบพุ่งติดพันกับพวกพม่า ส่วนที่นครลำปางก็เกิดความวุ่นวาย เพราะไม่มีเจ้าผู้ครองนคร มีแต่ขุนเมืองทั้งหลายควบคุมปกครองเมือง ขุนเมืองเหล่านั้นได้แก่ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือนจเรน้อย ท้าวลิ้นก่าน ต่างแย่งชิงอ านาจกัน แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า เสนาเก่านครล าปางกระด้างกระเดื่อง ต่ออ านาจท้าวลิ้นก่าน ผู้ถูกพม่าสั่งมาปกครองนครลำปาง เนื่องจากขาดผู้นำ บ้านเมืองระส่ำระสาย แตกเป็นก๊กเป็นเหล่า ต่อมาได้มีสมเด็จวัดนายาง สมภารวัดสามขา และสมภารวัดบ้านฟ่อน ได้ลาสิกขาออกมาเป็นสามตนบุญ มีไม้ตะพดและไม้เสารั้ว เป็นอาวุธต่อสู้รวมพล อาสาสู้พม่า เพื่ออิสระของชาวนครลำปาง แต่ก็ถูกกระสุนปืนของทหารพม่าของท้าวมหายศเสียชีวิต แม่ทัพพม่า ซึ่งเจ้านางสอิ้งค์ทิพย์ เจ้าแม่เมืองลำพูนมีบัญชาให้มาปราบปราม ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงเมื่อนครลำปางถูกพม่าม่านเงี้ยว ยกทัพมาตี ทำให้เมืองนครลำปางแตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกพม่า ชาวนครลำปางจึงหาวิธีการกู้นครลำปางกลับคืนมา ในขณะนั้นพระญาสมุทร ครูบาวัดชมพู เรียกขุนท้าวทั้งหลายทั้งท้าวลิ้นก่าน จเรน้อย ประชุมลับ วางแผนที่จะกู้เมือง ท้าวลิ้นก่านขอถอนตัว ครูบาวัดชมพูจึงหารือว่า จะสึกออกมากู้บ้านกู้เมืองเอง แต่ชาวบ้านขออาราธนาไว้ และปาวารณาตัวว่าแม้นจะมีใครเป็นหัวหน้าก็จะร่วมมือร่วม ขอพระญาสมุทรจงอย่าได้ลาสิกขา พระญาสมุทรจึงกล่าวถึงทิพย์ช้าง และขอให้ทิพย์ช้างเป็นหัวหน้ากู้บ้านเมืองทิพย์ช้างได้เป็นหัวหน้าผู้กอบกู้นครลำปาง ทิพย์ช้างได้เสาะหาผู้มีฝีมือมาเป็นกำลังอาสา รวบรวมพลให้ได้ ๗๐๐ คน และต้องการคนหนังเหนียวมาก ๆ ทิพย์ช้างก็เสนอให้มีการป่าวประกาศหาอาสาสมัคร ก็ไม่มีใครอาสา ทิพย์ช้างก็เลยอาสาตระเวนหาคนหนังเหนียว สืบหาได้ว่า มี พระติ๊บปาละ วัดสามขา หนานถานายาบ สมเด็จนายาง พอได้สามท่านนี้มารวมกับทิพย์ช้าง คงจะสู้กับพวกพม่าได้ ทิพย์ช้างจึงประกาศรวบรวมพลเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นได้เกลี้ยกล่อมให้พระติ๊บปาละวัดสามขา ลาสิกขา เพื่อเห็นแก่บ้านเมือง พระติ๊บปาละจึงลาสิกขา เอาผ้ายันต์โพกศีรษะ และนำดาบ ๒ เล่ม ไปรวมกับกองทัพ ร่วมกันวางแผนโจมตีข้าศึกที่วัดพระธาตุลำปางหลวง พ่อเจ้าทิพย์ช้างปลอมตัวพาไพร่พลเข้าประชิดตัวกับหัวหน้า คือ ท้าวมหายศ ยิงท้าวมหายศ หัวหน้าทัพพม่าตาย ส่วนพ่อเจ้าติ๊บปาละสามขา ยิงอะม๊อกใส่ข้าศึก พวกพม่าข้าศึก ก็แตกตื่นโกลาหน หนีกันไปคนละทิศทาง พ่อเจ้าติ๊บปาละ หนานถานายาบ พร้อมทั้งไพร่พลได้ไล่ติดตามข้าศึกไปดักที่ประตูผา ส่วนพ่อเจ้าทิพย์ช้างกับสมเด็จนายาง กับพวกทหารก็ไล่ตีข้าศึกถอยล่นไปรวมกันที่ประตูผา เจ้าพ่อติ๊บปาละสามขา กับหนานถานายาบ ขึ้นแอบซุ่มอยู่บนต้นไม้มีใบตองห่ออีบา พวกข้าศึกก็มาปรึกษากันอยู่ข้างล่างประชุมกันอยู่ว่า เราจะกลับไปตีเอาเมืองลำปางให้ได้ เรามารวมกันให้หมด เราอยู่ที่นี้แล้ว เราไม่กลัวอะไร ไม่ว่ามันจะดำดินบินบนมาจากไหน ฝ่ายพ่อเจ้าทิพย์ช้างกับสมเด็จนายางกำลังติดตามข้าศึกมาอย่างกระชั้นชิด ส่วนพ่อเจ้าติ๊บปาละกับหนานถานายาบ ที่อยู่บนต้นไม้ ใบตองห่อข้าวอีบา ทานน้ าหนักสองคนไม่ได้ ก็เลยหลุดหล่นลงมากลางข้าศึก พ่อเจ้าติ๊บปาละก็เลยลั่นวาจาออกไปว่า ดำดินก็กู บินบนก็กู พวกมึงตายเสียเถอะ จากนั้นก็สู้รบกับพวกพม่าเป็นสามารถ ข้าศึกล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็แตกหนีกระเจิงกันไปคนละทิศทาง พอศึกสงบลงจึงพากันกลับมาที่เมืองลำปางอีกครั้ง คอยทีท่าว่ากำลังทหารพม่าจะกลับมาแก้แค้น แต่ก็ไม่มีวี่แวว จึงประชุมลงความเห็นว่าให้แต่งตั้งให้หนานทิพย์ช้างปกครองเมืองลำปางสืบต่อ ไป เพราะบ้านอยู่ใกล้เมือง นอกนั้นขอกลับบ้าน แต่สัญญากันว่าหากมีข้าศึกมารุกรานอีกจะกลับมาช่วยทันทีที่ได้รับข่าว ก่อนจากกันกลับบ้านมีคนนำไม้แก่นจันทน์มาให้ท่อนหนึ่งยาวประมาณห้าคืบเศษ ถูกเลาเป็นอย่างดีเก้าเท่าปลาย ปลายเท่าเก้า จึงตัดแบ่งเป็นสี่ท่อน หาช่างผู้มีฝีมือดีมาควักเป็นพระพุทธรูปสี่องค์ แบ่งกันคนละองค์เพื่อเป็นที่ระลึกไว้บูชา คือ หนานติ๊บปาละสามขา จำนวน ๑ องค์ สมเด็จนายาง จำนวน ๑ องค์ หนานถาบ้านฟ่อน จำนวน ๑ องค์ ทิพย์ช้างบ้านไผ่ จำนวน ๑ องค์ จากนั้นก็แยกย้ายกับกลับบ้าน ส่วนหนานติ๊บปาละพาลูกน้องกลับมาอยู่ที่วัด พ่อเฒ่าแม่แก่ พ่อแม่พี่น้องทั้งบ้านใกล้เรือนเรียงเคียงทราบข่าวการกลับมาของหนานติ๊บปา ละก็พากันมาแสดงความดีใจและรับฟังคำบอกเล่าของหนานติ๊บปาละในการออกรบให้ พี่น้องลูกหนานตลอดจนชาวบ้านใกล้เคียงได้รับฟังจนหมดสิ้น และได้เล่าต่อกันมาจนถึงลูกหลานตราบเท่าทุกวันนี้ ส่วนหนานติ๊บปาละหรือเจ้าพ่อติ๊บปาละเป็นผู้อยู่ยงคงกระพันด้วยเวทมนต์คาถา ไม่มีผ้ายันต์ป้องกันตัวตามที่บางแห่งกล่าวอ้าง และเจ้าพ่อติ๊บปาละได้กลับมาบวชเป็นพระเป็นเจ้าอาวาสวัดสามขา จนกระทั่งมรณภาพ
ที่มา : http://historicallanna01.blogspot.com/2011/04/blog-post_13.html
วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555
ประวัติเจ้าพระยาสุลวฤาไชยสงคราม หรือเจ้าพ่อทิพย์ช้าง
ประวัติเจ้าพระยาสุลวฤาไชยสงคราม หรือเจ้าพ่อทิพย์ช้าง มีนามเดิมว่า "ทิพย์จักร" หรือ "หนานทิพย์ช้าง" เกิดที่ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถและมีกำลังกายแข็งแรง ท่านได้สร้างวีรกรรมกอบกู้เอกราชนครลำปางจากพม่า
ปรากฏว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ดังนี้ ระหว่าปี พ.ศ.2272-2275 หัวเมืองลานนาทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของพม่า ชาวเมืองระส่ำระสายมีจราจลวุ่นวาย พม่าได้ส่งผู้ปกครองมาดูแลหัวเมืองล้านนาทั้งหมด ทั้ง เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงราย แพร่ น่าน ลำพูน ส่วนนครลำปางอิทธพลพม่าแผ่เข้ามาแล้ว แต่พม่ายังมิได้ส่งผู้แทนมาปกครองเหมือนหัวเมืองอื่นๆ ขณะนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองคือ เจ้าลิ้นก่าน ซื่งยังทรงพระเยาว์อยู่ ชาวนครลำปางจึงตั้งขุนนาง 4 คน เป็นผู้สำเร็จราชการชั่วคราว คือ แสนหนังสือ แสนเทพ แสนบุญเฮือน และจเรน้อย ขณะนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนายางหรือวัดนายาบ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) มีวิทยาอาคม โดยมประชาชนให้ความนับถือและสมัครเป็นบริวารจำนวนมาก สมภารวัดสามขากับสมภารวัดบ้านฟ่อน ต่างก็สึกออกมาเป็นเสนาซ้ายขวา และตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่าขึ้น ทำให้พม่าไม่พอใจและส่งท่าวมหายศผู้ครองเมืองลำพูนยกกองทัพมาปราบ
สมภารวัดนายางจึงคุมสมัครพรรคพวกออกรบกับกองทะพพม่าที่ตำบลป่าตันแต่ก็ต้านกองกำลังของพม่าไม่ได้ พ่ายหนีไปยังวัดพระธาตุลำปางหลวง พม่าก็ได้ตามไปล้อมไว้ พอตกกลางคืนสมภารวัดนายางและเสนาซ้ายขวาก็พากันหนีออกจากวงล้อมทหารพม่า แต่ก็หนีไม่พ้นถูกทหารพม่าใช้ปืนยิงถึงแก่ความตายทั้งคู่
หลังจากนั้นกองทัพพม่าก็ตั้งกองทัพที่วัดพระธาตุลำปางหลวง และท้าวมหายศได้แต่งตั้งให้ หาญฟ้าแมบ หาญฟ้าง้ำ หาญฟ้าฟื้น เข้าไปเจรจาความเมืองกับขุนนางทั้ง 4 โดยที่ตัวแทนของพม่าทั้ง 3 ได้เหน็บอาวุธเข้าไปด้วย พอได้โอกาสก็พากันฟันแทงขุนนางทั้ง 4 และยกกองกำลังหนุนเข้าไปปล้นเอาเมืองลำปางได้ แสนหนังสือ แสนเทพ และแสนบุญเฮือนถูกฆ่าตาย ส่วนจเรน้อยและเจ้าลิ้นก่านพากันหนีไปที่ประตูผา
ทำให้นครลำปางตกอยู่ในครอบครองของท้าวมหายศ ซื่งมีทัพตั้งมั่นอยู่ในเขตกำแพงวัดพระธาตุลำปางหลวง ช่วงนั้นท้าวมหายศทารุณกดขี่ราษฎร จนได้รับความเดือดร้อนกันไปทั่ว เพราะไม่มีใครมาปราบกองทัพท้าวมหายศได้
เจ้าอธิการวัดพระแก้วหรือวัดชมภู (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองลำปาง) มีความรู้ทางโหราศาสตร์ ประชาชนเลื่อมใสสมัครเข้าเป็นบริวารจำนวนมาก ประสงค์จะหาผู้มีความสามารถกู้อิสรภาพคืนจากพม่า และมีผู้แนะนำว่า หนานทิพย์ช้างพรานป่าเป็นผู้มีความสามารถ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กำลังกายแข็งแรง และมีความชำนาญในการใช้อาวุธ
เจ้าอธิการวัดพระแก้วจึงไปขอร้องให้หนานทิพย์ช้างไปกอบกู้บ้านเมืองในครั้งนี้ โดยมีข้อเสนอว่า เมื่อหนานทิพย์ช้างกอบกู้บ้านเมืองมาจากพม่าได้ จะสถาปนาให้เป็นเจ้าครองเมืองลำปางต่อไป หนานทิพย์ช้างจึงขันออาสา และได้นำกำลังไพร่พลไปกว่า 300 คน และเมื่อไปถึงที่มั่นของข้าศึก หนานทิพย์ช้างก็ได้ลอบเข้าไปภายในวัดทางท่อระบายน้ำ แล้วก็ปลอมเป็นคนลำพูนที่เข้าไปส่งข่าวให้แก่ทัพพม่า หลอกถามทหารพม่าว่าแม่ทัพคือคนไหน ทหารพม่าก็หลงเชื่อชี้บอกแม่ทัพท้าวมหายศ ซื่งขณะนั้นกำลังเล่นหมากรุกอยู่ในศาลาหลวง หนานทิพย์ช้างจึงใช้ปืนพกที่พกมายิงแม่ทัพพม่าเสียชีวิต และสามารถยึดเมืองกลับคืนมาได้
ร่อยรอยการต่อสู้ด้วยดาบของหนานทิพย์ช้างกับท้าวมหายศปรากฏที่วิหารจามเทวี
จากนั้นหนานทิพย์ช้างก็ได้สถาปนาตน เป็น เจ้าทิพยจักรหลวง หรือ เจ้าสุลวฤาไชยสงคราม (พ่อเจ้าทิพย์ช้าง) ปกครองเมืองลำปางตั้งแต่ พ.ศ.2275 โดยปกครองเมืองลำปางนานถึง 27 ปี พระองค์ก็ได้พิราลัยในปี 2302 รวมอยุได้ 85 ปี
ขอบคุณที่มาจาก วารสารของดีเมืองลำปาง
จัดทำโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
พระแม่เจ้าจามเทวีกับวัดปงยางคก
วัดปงยางคก ตั้งอยู่ที่ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยมีประวัติคือประมาณ พ.ศ. 1206 พระแม่เจ้าจามเทวี ราชธิดากรุงละโว้ (ลพบุรี) ได้ยกกองทัพขึ้นมาครอง เมืองหริภุญไชย (ลำพูน) และราว พ.ศ. 1224 ได้ให้ มหันตยศ ราชบุตรองค์ที่หนึ่ง ครองเมืองหริภุญไชยแทนและให้ราชบุตรองค์ที่สอง คือ อนันตยศ มาสร้างและครองเมืองเขลางค์ นคร (ลำปาง)
ต่อมาราว พ.ศ.1243 พระแม่เจ้าจามเทวีเสด็จออกจากลำพูน เพื่อมาเยี่ยมเยืยนอนันตยศ ผู้ราชบุตรในนครลำปาง ได้มาถึง ณ ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง เป็นที่รื่นรมย์ จึงสร้างเมืองลำลอง พัก ณ ที่แห่งนั้น เมืองนั้นต่อมาได้ชื่อว่า "เวียงรมณีย์" (เมืองตาล)
ปัจจุบันนี้เป็นเมืองร้าง มีแต่คูดินตั้งอยู่ระหว่างดอยขุนตาลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอ ห้างฉัตร ประมาณ 2 ก.ม. ขณะที่พักอยู่ที่เวียงมณีย์นั้น ได้สร้างฉัตรทองคำสำหรับจะไปบูชาพระธาตุลำปางหลวง ณ ที่ใช้ช่างสร้างฉัตร ในเวลาต่อมาเรียกว่า บ้านห้างฉัตร อันเป็นนามของอำเภอห้างฉัตร ในปัจจุบันนี้
เมื่อสร้างฉัตรทองคำเสร็จแล้ว ก็ทรงช้างพระที่นั่ง เดินไปตามเส้นทาง พอไปถึง ณ ที่แห่งหนึ่งปรากฏอัศจรรย์ ช้างพระที่นั่งทรุดเข่าลงหมอบคู้ชูงวงในท่าคารวะ พระแม่เจ้าเห็น เป็นอัศจรรย์จึงพักพล ณ ที่นั้น ตกกลางคืนจึงอธิฐานว่า ณ ที่นี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ขอให้ปรากฏปาฏิหาริย์ขึ้น ขาดคำพระดำรัสของพระแม่เจ้า ก็ปรากฏแสงฉัพพรรณรังสีแห่งพระบรม สารีริกธาตุพวยพุ่งขึ้น ณ ที่ จอมปลวกแห่งหนึ่ง จึงทรงให้ปลูกวิหารจามเทวีรอบจอมปลวกไว้ด้วยมณฑปปราสาทตลอดจนสร้างรูปจ๊างนบ ไว้หน้าวิหาร เป็นรูปช้างทรุดเข่าลงหมอบคู้ชูงวงขึ้นเหนือหัวในท่าคารวะและปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้พันธุ์มาจากลังกาทวีปไว้พร้อมสรรพ ต่อมา ณ ที่แห่งนี้จึงเรียกว่า "บ้านปงจ๊างนบ" ต่อมาหลายร้อยปี นามนี้ก็ได้เพี้ยนไป เป็น "ปงยางคก"
วัดปงยางคกนี้ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะเป็นถิ่นกำเนิดของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (เจ้าพระยาสุรวฤาชัยสงคราม) วีรบุรุษแห่งเขลางค์นคร ผู้กู้อิสระภาพจาก พม่าข้าศึก อันเป็นต้นตระกูลของเจ้าผู้ครองนครในภาคเหนือมาตั้งแต่อดีต อีกประการหนึ่งก่อนที่เจ้าหนานติ๊บจ๊างจะได้ปราบดาภิเษกเป็นเจ้าพระยาสุรวฤาชัยสงคราม ขึ้นปกครอง เขลางค์นครลำปางพระองค์ก็ได้เคยศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดปงยางคกนี้มาก่อนจึงถือว่าเป็นวัดประวัติศาสตร์ของลานนาไทยเราที่มีความสำคัญยิ่งที่เดียว
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือวิหารพระแม่เจ้าจามเทวี มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร มุงด้วยแป้นไม้เกล็ด แต่ในปัจจุบันนี้มุงด้วยดินขอเกล็ด เนื่องจากแป้นไม้เกล็ดได้ผุกร่อนไปตาม การเวลา (เพราะเป็นเวลาพันกว่าปีมาแล้ว) วิหารนี้เป็นวิหารขนาดเล็ก ลักษณะทั่วไปของวิหารไม่เหมือนกับวิหารในสมัยปัจจุบัน เป็นวิหารโถงทำด้วยไม้ ตอนล่างเปิดโล่งตลอดไม่มี ประตูและหน้าต่าง ตอนสุดท้ายของวิหารมีผนังก่ออิฐฉาบปูนทึบสามด้าน ล้อมกู่พระเจ้าหรือโขงพระเจ้า (คือซุ้มปราสาทเรือนยอดก่อนอิฐก๋วมพระประธานเอาไว้) ลักษณะของการ ก่อสร้างเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมแบบลานนา ยุคหริภุญไชยสกุลช่างเขลางค์ (ซึ่งต่างกับสถาปัตยกรรมภาคกลาง) หลังคาสามชั้น เป็นวิหารไม้ที่มีความสวยงามมาก เป็นแบบฉบับของลักษณะสถาปัตยกรรมภาคเหนือ มีฐานพระวิหารสูงจากพื้นดินหนึ่งฟุต เดิมคงสูงประมาณสามศอกเศษ แต่เนื่องจากมีน้ำหลากพาดินจากที่อื่นมาท่วมทับถมทุกปีเป็นเวลาพันกว่าปีมา แ ล้ว อีกประการหนึ่งจากการขนทรายเข้าวัดตามประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย จึงทำให้ฐานพระวิหารสูงหลือเพียงหนึ่งฟุต โครงสร้างภายในทั้งหมดทุกชิ้นที่เห็น แต่งลายรูปต่าง ๆ ตามรูปพื้นที่ไม้ที่รองรับด้วยลายเขียนน้ำรักปิดทองบนพื้นสีแดงเช่นรูปลายกระถางดอกไม้บูชาพระ ลายกระหนกเครือเถาว์ เทพยดา ลายดาว ลายเลขาคณิต และรูปอื่น ๆ อีกมาก เสาพระวิหารประดับด้วยลายเขียนศิลปะแบบพื้นเมืองที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเขียนด้วยรักปิดทอง(ซึ่งต่างจากวิหารทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นภาพเขียนสีที่เรียกว่าลายน้ำแต้ม) ถือว่า เป็นจิตรกรรมเสาวิหารที่สวยงามลวดลายละเอียดประณีตวิจิตรบรรจง
ต่อมาทางราชบัณฑิตยสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร ก็ได้สำรวจขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่และล้ำค่าที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ซึ่งมีความสำคัญในฐานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอันเนื่องจากเจ้าหนานติ๊บจ๊างคือบรรพบุรุษเจ้าครองนครในแคว้นลานนาไทยสมัยก่อนเป็นผู้ที่ร่วมมือกับทางกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ รวบรวมดินแดนที่เคยเป็นแคว้นลานนาในอดีต ผนวกเข้ากับดินแดนของเมืองหลวงไทยสมัยนั้นอย่างถาวร ดังนั้นจึง อาจกล่าวได้ว่า การที่ประเทศไทยมีขอบเขตการปกครองกว้างขวางเช่นในปัจจุบันก็เนื่องจากเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากบทบาทของเจ้าหนานติ๊บจ๊างผู้นี้ด้วย
ที่มา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำปาง ถนนวัดม่อนจำศีล ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
ต่อมาราว พ.ศ.1243 พระแม่เจ้าจามเทวีเสด็จออกจากลำพูน เพื่อมาเยี่ยมเยืยนอนันตยศ ผู้ราชบุตรในนครลำปาง ได้มาถึง ณ ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง เป็นที่รื่นรมย์ จึงสร้างเมืองลำลอง พัก ณ ที่แห่งนั้น เมืองนั้นต่อมาได้ชื่อว่า "เวียงรมณีย์" (เมืองตาล)
ปัจจุบันนี้เป็นเมืองร้าง มีแต่คูดินตั้งอยู่ระหว่างดอยขุนตาลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอ ห้างฉัตร ประมาณ 2 ก.ม. ขณะที่พักอยู่ที่เวียงมณีย์นั้น ได้สร้างฉัตรทองคำสำหรับจะไปบูชาพระธาตุลำปางหลวง ณ ที่ใช้ช่างสร้างฉัตร ในเวลาต่อมาเรียกว่า บ้านห้างฉัตร อันเป็นนามของอำเภอห้างฉัตร ในปัจจุบันนี้
เมื่อสร้างฉัตรทองคำเสร็จแล้ว ก็ทรงช้างพระที่นั่ง เดินไปตามเส้นทาง พอไปถึง ณ ที่แห่งหนึ่งปรากฏอัศจรรย์ ช้างพระที่นั่งทรุดเข่าลงหมอบคู้ชูงวงในท่าคารวะ พระแม่เจ้าเห็น เป็นอัศจรรย์จึงพักพล ณ ที่นั้น ตกกลางคืนจึงอธิฐานว่า ณ ที่นี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ขอให้ปรากฏปาฏิหาริย์ขึ้น ขาดคำพระดำรัสของพระแม่เจ้า ก็ปรากฏแสงฉัพพรรณรังสีแห่งพระบรม สารีริกธาตุพวยพุ่งขึ้น ณ ที่ จอมปลวกแห่งหนึ่ง จึงทรงให้ปลูกวิหารจามเทวีรอบจอมปลวกไว้ด้วยมณฑปปราสาทตลอดจนสร้างรูปจ๊างนบ ไว้หน้าวิหาร เป็นรูปช้างทรุดเข่าลงหมอบคู้ชูงวงขึ้นเหนือหัวในท่าคารวะและปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้พันธุ์มาจากลังกาทวีปไว้พร้อมสรรพ ต่อมา ณ ที่แห่งนี้จึงเรียกว่า "บ้านปงจ๊างนบ" ต่อมาหลายร้อยปี นามนี้ก็ได้เพี้ยนไป เป็น "ปงยางคก"
วัดปงยางคกนี้ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะเป็นถิ่นกำเนิดของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (เจ้าพระยาสุรวฤาชัยสงคราม) วีรบุรุษแห่งเขลางค์นคร ผู้กู้อิสระภาพจาก พม่าข้าศึก อันเป็นต้นตระกูลของเจ้าผู้ครองนครในภาคเหนือมาตั้งแต่อดีต อีกประการหนึ่งก่อนที่เจ้าหนานติ๊บจ๊างจะได้ปราบดาภิเษกเป็นเจ้าพระยาสุรวฤาชัยสงคราม ขึ้นปกครอง เขลางค์นครลำปางพระองค์ก็ได้เคยศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดปงยางคกนี้มาก่อนจึงถือว่าเป็นวัดประวัติศาสตร์ของลานนาไทยเราที่มีความสำคัญยิ่งที่เดียว
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือวิหารพระแม่เจ้าจามเทวี มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร มุงด้วยแป้นไม้เกล็ด แต่ในปัจจุบันนี้มุงด้วยดินขอเกล็ด เนื่องจากแป้นไม้เกล็ดได้ผุกร่อนไปตาม การเวลา (เพราะเป็นเวลาพันกว่าปีมาแล้ว) วิหารนี้เป็นวิหารขนาดเล็ก ลักษณะทั่วไปของวิหารไม่เหมือนกับวิหารในสมัยปัจจุบัน เป็นวิหารโถงทำด้วยไม้ ตอนล่างเปิดโล่งตลอดไม่มี ประตูและหน้าต่าง ตอนสุดท้ายของวิหารมีผนังก่ออิฐฉาบปูนทึบสามด้าน ล้อมกู่พระเจ้าหรือโขงพระเจ้า (คือซุ้มปราสาทเรือนยอดก่อนอิฐก๋วมพระประธานเอาไว้) ลักษณะของการ ก่อสร้างเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมแบบลานนา ยุคหริภุญไชยสกุลช่างเขลางค์ (ซึ่งต่างกับสถาปัตยกรรมภาคกลาง) หลังคาสามชั้น เป็นวิหารไม้ที่มีความสวยงามมาก เป็นแบบฉบับของลักษณะสถาปัตยกรรมภาคเหนือ มีฐานพระวิหารสูงจากพื้นดินหนึ่งฟุต เดิมคงสูงประมาณสามศอกเศษ แต่เนื่องจากมีน้ำหลากพาดินจากที่อื่นมาท่วมทับถมทุกปีเป็นเวลาพันกว่าปีมา แ ล้ว อีกประการหนึ่งจากการขนทรายเข้าวัดตามประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย จึงทำให้ฐานพระวิหารสูงหลือเพียงหนึ่งฟุต โครงสร้างภายในทั้งหมดทุกชิ้นที่เห็น แต่งลายรูปต่าง ๆ ตามรูปพื้นที่ไม้ที่รองรับด้วยลายเขียนน้ำรักปิดทองบนพื้นสีแดงเช่นรูปลายกระถางดอกไม้บูชาพระ ลายกระหนกเครือเถาว์ เทพยดา ลายดาว ลายเลขาคณิต และรูปอื่น ๆ อีกมาก เสาพระวิหารประดับด้วยลายเขียนศิลปะแบบพื้นเมืองที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเขียนด้วยรักปิดทอง(ซึ่งต่างจากวิหารทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นภาพเขียนสีที่เรียกว่าลายน้ำแต้ม) ถือว่า เป็นจิตรกรรมเสาวิหารที่สวยงามลวดลายละเอียดประณีตวิจิตรบรรจง
ต่อมาทางราชบัณฑิตยสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร ก็ได้สำรวจขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่และล้ำค่าที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ซึ่งมีความสำคัญในฐานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอันเนื่องจากเจ้าหนานติ๊บจ๊างคือบรรพบุรุษเจ้าครองนครในแคว้นลานนาไทยสมัยก่อนเป็นผู้ที่ร่วมมือกับทางกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ รวบรวมดินแดนที่เคยเป็นแคว้นลานนาในอดีต ผนวกเข้ากับดินแดนของเมืองหลวงไทยสมัยนั้นอย่างถาวร ดังนั้นจึง อาจกล่าวได้ว่า การที่ประเทศไทยมีขอบเขตการปกครองกว้างขวางเช่นในปัจจุบันก็เนื่องจากเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากบทบาทของเจ้าหนานติ๊บจ๊างผู้นี้ด้วย
ที่มา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำปาง ถนนวัดม่อนจำศีล ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ตามรอยประวัติศาสตร์พระแม่เจ้าจามเทวี กราบพระดีเมืองล้านนา
ต้นไม้ต้องมีราก คนต้องต้องมีที่มา ถิ่นท้องที่เมืองเหนือ หรือลานนา มีประวัติความเป็นมา ยาวนานนับพันๆปี พระแม่เจ้าจามเทวี สตรีผู้มีบุญญาธิการ เป็นถึงกษัตริย์องค์แรกของเมืองลำพูน ดังตำนานเรื่องเล่า ที่ว่า เป็นบุตรีท่านเศรษฐี อินตา เมืองลำพูน ถือกำเนิดเมื่อตอนจวนจะค่ำ วันพฤหัสบดี เดือน ๕ ปีมะโรง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พุทธศักราช ๑๑๗๖ ได้มีนกใหญ่จับไป แต่ได้ตกลงบนสระบัวหลวง รอดอยู่อย่างอัศจรรย์ มีพระฤาษีตนหนึ่งมาพบ ได้ใช้ วี(พัด) ช้อนร่างมาไว้ จึงได้ชื่อทารกนี้ว่า หญิงวี พระฤาษีเห็นการณ์ไกลว่าทารกนี้มีบุญ จะได้กษัตริย์ในวันหน้า เมื่ออายุราว ๑๓ ปี จึงได้จัดส่งนางพร้อมวานร ๓๕ ตัว ทางลำน้ำด้วยนาวายนต์ ไปถึงเมืองละโว้ ได้หยุดตรงนี้ไม่เคลื่อนไปไหน จนความทราบถึง กษัตร์ย์ เมืองละโว้ ได้เมตตารับมาชุบเลี้ยงเป็นพระราชธิดา เป็นราชทายาท มีกระแสรับสั่ง ให้จารึกพระนามในแผ่นสุพรรณบัตรว่า เจ้าหญิงจามเทวี ศรีสุริยะวงศ์ บรมราชขัติยะนารี รัตนกัญญษละวะบุรี ราเมศวร ในวาระดิถี อาทิยวาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๑๑๙๐ สิ้นเสียงกระแสพระราชดำรัส ชาวประชาได้ถวายพระพรกันเซ็งแซ่ พระแม่เจ้าจามเทวี พระราชดำรัสตอบว่า ข้าฯขอกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันพิทักษ์กรุงละโว้ว่า ข้าฯจะเป็นมิตรต่อท่านทั้งหลาย จะขอปกปักษ์รักษาอาณาจักรละโว้ด้วยชีวิต จะปฏิบัติทุกทางที่จะหาความสุขให้ทั่วพระราชอาณาจักรแห่งนี้ สิ้นกระแสดำรัส เสียงปี่พาทษืมโหรีบรรเลงขึ้นสรรเสริญพระบารมี ชาวประชาถวายพระพร พระพิรุณ โปรยปราย ละอองความชุ่มเย็น ทั่วกรุงละโว้ธานีเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
วัดที่พระนางเจ้าจามเทวีทรงประทับอยู่จนถึงคราวสวรรคต คือวัดจามเทวี หรือเดิมชื่อ วัดกู่กุด พระนางจามเทวีมีพระชนม์ได้ 60 พรรษา ได้สละราชสมบัติทุกอย่าง ให้พระโอรสทั้งสอง โดยพระนางออกบวชชีบำเพ็ญพรตอยู่ที่วัดจามเทวีแห่งนี้
พ.ศ. 1276 พระนางจามเทวีได้ปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดแห่งนี้ พระชนม์ครบ 92 พรรษา พระนางจึงได้สิ้นพระชนม์ ซึ่งทางพระมหันตยศ และพระอนันตยศ ก็ได้จัดถวายพระเพลิงภายในวัดอย่างสมพระเกียรติ และได้สร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิของพระนางไว้ โดยให้ชื่อเจดีย์ว่า "สุวรรณจังโกฏเจดีย์"
วัดที่พระนางเจ้าจามเทวีทรงประทับอยู่จนถึงคราวสวรรคต คือวัดจามเทวี หรือเดิมชื่อ วัดกู่กุด พระนางจามเทวีมีพระชนม์ได้ 60 พรรษา ได้สละราชสมบัติทุกอย่าง ให้พระโอรสทั้งสอง โดยพระนางออกบวชชีบำเพ็ญพรตอยู่ที่วัดจามเทวีแห่งนี้
พ.ศ. 1276 พระนางจามเทวีได้ปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดแห่งนี้ พระชนม์ครบ 92 พรรษา พระนางจึงได้สิ้นพระชนม์ ซึ่งทางพระมหันตยศ และพระอนันตยศ ก็ได้จัดถวายพระเพลิงภายในวัดอย่างสมพระเกียรติ และได้สร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิของพระนางไว้ โดยให้ชื่อเจดีย์ว่า "สุวรรณจังโกฏเจดีย์"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)